วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ระบบปฎิบัติการ

บทที่ 5 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
บทที่ 5ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การติดตั้งระบบปฏิบัติการ

การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ proprietary software
1.ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software)
       คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งานและทำซ้ำถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งานหรือทำซ้ำได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ. proprietary software อาจไม่ได้เป็น ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เสมอไป, แต่โดยมากแล้ว เจ้าของซอฟต์แวร์มักจะใช้กลไกของระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสงวนสิทธิ์ของตนเองไว้, ทำให้ซอฟต์แวร์กลายเป็น proprietary software. ตัวอย่างของ proprietary software ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ หรือ อะโดบี โฟโตชอป

คำว่า "โพรไพรเอทารีซอฟต์แวร์" เป็นคำจำกัดความที่ทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation, FSF) ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายถึงซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี เพื่อ ไว้เรียกเปรียบเทียบกับ ซอฟต์แวร์เสรี หรือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ผู้อื่นใช้งาน แจกจ่าย และ ดัดแปลงแก้ไขได้

2.ซอฟต์แวร์ระบบเปิด
       กรุงเทพธุรกิจ - หน่วยงานของรัฐ คือ ตัวกำหนดมาตรฐานการใช้ซอฟต์แวร์ที่สำคัญ เมื่อรัฐเลือกใช้ซอฟต์แวร์ใด เอกชนย่อมต้องเลือกใช้ระบบที่เหมือนกัน เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาแปลงไฟล์กันไปมา
รอแรงขับจากหน่วยงานรัฐ
กระทั่ง อาจก่อปัญหาให้อ่านไฟล์กันไม่ได้ ซึ่งเฉพาะปี 2548 ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน มีค่าใช้จ่ายซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์และบริการรวมกันเกือบ 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหน่วยงานรัฐกว่า 7,100 ล้านบาท เอกชน เฉพาะกิจการขนาดใหญ่เกือบ 4 หมื่นล้านบาท
ไม่เฉพาะไทยประเทศเดียวที่ต้อง จ่ายค่าซอฟต์แวร์ และบริการจำนวนมหาศาลต่อปี แต่ประเทศอื่นๆ ก็เผชิญสภาวะเดียวกัน ดังนั้น ซอฟต์แวร์มาตรฐานเปิดจึงเป็นทางเลือกที่หลายประเทศให้ความสนใจ โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้กำหนดนโยบายเป็นทางการใช้เทคโนโลยีระบบเปิดและไฟล์เอกสารแบบเปิด เช่น มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ที่กำหนดให้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นออฟฟิศ ต้องรับกับมาตรฐานระบบเปิด
ภายในมกราคม ปี 2550 กรมสรรพากรฝรั่งเศส ที่โอนย้ายระบบโปรแกรมออฟฟิศในพีซี 80,000 เครื่องไปใช้แอพพลิเคชั่น ออฟฟิศ ที่เป็นมาตรฐานเปิด และปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมของสิงคโปร์ ได้เปลี่ยนระบบการใช้ซอฟต์แวร์แบบปิดจากเดสก์ทอป 20,000 เครื่องมาใช้ซอฟต์แวร์แบบเปิด ซึ่งคาดว่า กว่า 13 ประเทศกำลังพิจารณาการใช้โอเพ่น ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต (ODF)
"การเข้าสู่ระบบเปิด จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือแลกเปลี่ยนการพัฒนาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ท้ายที่สุดก็ช่วยสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ หากรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดไม่ปรับตัวให้เป็นไปตามกระแสโลก ไม่ใช้เทคโนโลยีระบบเปิดแล้ว เชื่อว่า 5-10 ปีข้างหน้า จะถูกบายพาสจากประเทศอื่นๆ ได้" นายสตีเฟ่น เบรม รองประธาน กอฟเวิร์นเม้นท์ โปรแกรม เอเชีย แปซิฟิก ไอบีเอ็ม กล่าว
เร่งไทยใช้มาตรฐานเปิด
นายเบรม กล่าวว่า ไทยต้องเร่งเข้าสู่การปรับใช้มาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งรองรับการทำงานต่างระบบ (Interoperability) และการใช้มาตรฐานเอกสารโอดีเอฟ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน โดยไม่อิง หรือผูกติดกับเทคโนโลยีของบริษัทรายหนึ่งรายใด (Independent) ทั้งยังทำให้รัฐสามารถควบคุมและเรียกใช้เอกสารโดยไม่อิงกับเทคโนโลยีที่ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาได้ (Forward and Backward Competability)
สำหรับมาตรฐานโอดีเอฟ เป็นความพยายามผลักดันระดับโลกที่จะแก้ไขปัญหาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาครัฐและประชาชนที่ต้องใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีปัญหาการเข้าถึง ค้นคืน และใช้ข้อมูลเหล่านั้น กรณีที่มีการใช้งานไฟล์เอกสารต่างโปรแกรมซอฟต์แวร์ จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพันธมิตร "โอเพ่น ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต อะลายแอนซ์ " จาก35 องค์กรทั่วโลก ที่มีสมาชิกประกอบด้วย สมาคม เวนเดอร์ สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐด้านไอซีทีของหลายประเทศ
หน่วยงานรัฐแรงดันระบบเปิด
หน่วยงานรัฐ จะเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงผลักดันให้ใช้มาตรฐานเปิด และไฟล์เอกสารเปิดโอดีเอฟได้ โดยกำหนดในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐว่าต้องเป็นมาตรฐานเปิดและทำงานต่าง ระบบร่วมกันได้ และบังคับใช้โอดีเอฟ ซึ่งการผลัดกันนั้น จะเป็นกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดที่มีอิทธิพลผลักดันหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้
ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเทคโนโลยีสาร สนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องการจัดซื้อ กระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วย (เฮลธ์ เรคคอร์ด)
นอกจากนั้น กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค ก็สามารถร่วมมือกันพัฒนาการใช้งานโอดีเอฟได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ โดยเฉพาะหากเกิดปัญหาการระบาดไข้หวัดนก ก็อาจแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศกันได้มากและง่ายขึ้น
ด้านข้อมูลจากซีเน็ต นิวส์ ระบุว่า การผลักดันโอดีเอฟ เป็นการสร้างมาตรฐานเอกสารออฟฟิศทั้งการประมวลผลคำ (WordProcessing) การนำเสนอ (Presentation) และเอกสารคำนวณ (Spredsheet) โดยปัจจุบันกว่า 90% ของโปรแกรมเอกสารสำนักงานจะใช้ฟอร์แมตของไมโครซอฟท์
ขณะที่ไมโครซอฟท์ พยายามส่งเสริมการใช้มาตรฐานเอกสาร ที่เป็นโอเพ่น เอ็กซ์เอ็มแอล ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต โดยในโปรแกรมออฟฟิศ 2007 ที่ไมโครซอฟท์จะวางตลาดครึ่งปีหลังของปี 2550 จะใช้ไฟล์มาตรฐานโอเพ่นเอ็กซ์เอ็มแอล
3.การปิดระบบใน Windows 7
       3.1 Shutdown เป็นการปิดเครื่อง
       3.2 Switch user เป็นการล็อคออนเข้าบัญชีผู้อื่น โดยงานของบัญชีผู้ใช้คนเดิมยังคงอยู่
       3.3 Log off เป็นการปิดการทำงานของบัญชีผู้ใช้อยู๋ปัจจุบัน เพื่อล็อกออนเข้าบัญชีผู้ใช้รายอื่น
       3.4 Lock เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว
       3.5 Restart เป็นการปิดระบบ แล้วบูตเครื่องใหม่
       3.6 Sleep เป็นการหยุดพักระบบหรือระบบหลับชั่วคราว สามารถกลับมาใช้งานเมื่อมีการขยับเมาส์หรือกดปุ่มคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ด
       3.7 Hibernate เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว ด้วยการจัดเก็บงานที่ค้างคาอยู่ ณ ขณะนั้นไว้ในฮาร์ดดิสก์ และเครื่องก็จะถูกปิดไป ครั้นเมื่อมีการเปิดเครื่อง ระบบก็จะโหลดโปรแกรมที่ค้างคาขึ้นมา เพื่อให้เราได้ใช้งานต่อ



แหล่งที่มา
1.https://th.wikipedia.org/wiki/ สืบค้นเมื่อ 21/12/2559

2.http://www2.osdev.co.th/node/355 สืบค้นเมื่อ 21/12/2559

บทที่ 4 ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
บทที่ 4 
ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
        คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบ คอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ User Interface
2.ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ( User Interface )
      การสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างที่เราต้องการ ผู้ใช้จะต้องป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งต่าง ๆ ให้กับคอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยผ่านส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน หรือเรียกว่า ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ( user interface ) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Command Line
3.ประเภทคอมมานด์ไลน์ (Command Line )
        เป็นส่วนประสานงานกับผู้ใช้ที่อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือ (text ) สั่งการลงไปด้วยตนเองเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการทีละบรรทัดคำสั่งหรือ คอมมานด์ไลน์ (command line )
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ (GUI – Graphical User Interface
4.ประเภทกราฟิก (GUI – Graphical User Interface )
     การใช้งานแบบคอมมานด์ไลน์ที่ต้องป้อนข้อมูลชุดคำสั่งทีละบรรทัดนั้น ทำให้เกิดความไม่สะดวกและยุ่งยากกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากพอสมควร โดยเฉพาะกับคนผู้ที่ไม่ชำนาญการหรือไม่สามารถจดจำรูปแบบของคำสั่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบคำสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่โดยปรับมาใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ในการสั่งงานมากยิ่งขึ้น บางครั้งนิยมเรียกระบบนี้ว่า กิวอี้ (GUI – Graphical User Interface ) ดังที่จะเห็นได้ในระบบปฏิบัติการ Windows ที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายนั่นเองรูปแบบของกิวอี้นี้ ผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบคำสั่งเพื่อใช้งานให้ยุ่งยากเหมือนกับแบบคอมมานด์ไลน์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว โดยเพียงแค่รายการคำสั่งภาพที่ปรากฏบนจอนั้นผ่านอุปกรณ์บางอย่าง เช่น เมาส์หรือคีย์บอร์ด เป็นต้น

5.ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)
       เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแล ควบคุม ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี มีดังต่อไปนี้

       1. MS DOS
       2. Linux
       3. Windows
6.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS )
       ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง 
    
       Windows Server 
   
       OS/2 Warp Server 
   
       Solaris

7.CISC (Complex Instruction Set Computer)การใช้หน่วยความจำสถาปัตยากรรมแบบ CISC จะมีชุดคำสั่งมากมายหลายคำสั่งที่ซับซ้อนและยุ่งยาก   แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า  ทุกชุดคำสั่งจะมีการ FIX CODE คือ ถ้ามีการใช้ชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อนมากก็จะใช้จำนวนบิตมาก  แต่ถ้าใช้งานชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อนน้อยก็จะใช้จำนวนบิตน้อยเช่นกัน ในการเก็บชุดคำสั่งของ CISC นั้นจะเก็บเท่ากับจำนวนจริงของการใช้งาน จึงประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำแต่เนื่องจากการเก็บชุดของคำสั่งนั้น เก็บเฉพาะการใช้งานจริง ซึ่งจะใช้งานหน่วยความจำน้อย  แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน แต่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง  เพราะต้องเสียเวลาการถอดรหัสอันยุ่งยากของการเข้ารหัสที่มีขนาดไม่เท่ากัน
ประสิทธิภาพ
       1.เนื่องจาก CISC มีชุดของคำสั่งที่ซับซ้อนมากกว่า RISC และในคำสั่งพิเศษที่มีอยู่ใน  CISC นั้น (หรือคำสั่งยากๆ)  เช่น การแก้สมการในการทำงานหนึ่งคำสั่งของ CISC อาจใช้เวลา (สัญญาณนาฬิกา) มากกว่าการนำเอาคำสั่งที่มีอยู่ใน RISC หลายๆคำสั่งมารวมกันเสียอีก
        2.ประสิทธิภาพอาจลดลงเนื่องจากเสียเวลาในการถอดรหัส เพราะชุดคำสั่งของ CISC ไม่แน่นอน มีทั้งสั้นและยาว อีกทั้งวงจรมีความสลับซับซ้อนมาก และใช้วงรอบสัญญาณนาฬิกานาน จึงทำให้เสียค่าใช่จ่ายสูง และใช้เวลานานกว่าในการประมวลผล
การสนับสนุนของคอมไพเลอร์
ใน CISC มีชุคำสั่งที่ซับซ้อนซึ่งติดมากับซีพียูอยู่แล้ว   แต่เมื่อมาทำการเขียนโปรแกรมแล้วผ่านตัวคอมไพเลอร์  หรือ ตัวแปลจากโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง  จะพบว่าคำสั่งยากๆ ที่มีอยู่ในซีพียูนั้น ตัวคอมไพเลอร์ กลับแปลงให้อยู่ในรูปของคำสั่งง่ายๆ  หรือกล่าวคือ  วอฟต์แวร์ไม่สนับสนุนกับฮาร์ดแวร์  ซึ่งในซีพียูหรือฮาร์ดแวร์นั้นมีการรองรับการทำงานของชุดคำสั่งนี้  แต่ตัวซอฟต์แวร์ไม่ได้มีการใช้คุณสมบัติจากชุดของคำสั่งที่ติดมากับตัวซีพียู แต่อย่างใด   ดังนั้น   ชุดคำสั่งที่บรรจุเอาคำสั่งที่ซับซ้อนไว้ใน  CISC  นั้น จะไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก  ถ้าหากว่าคอมไพเลอร์นั้นไม่รองรับ  และยิ่งไปกว่านั้นตัวคอมไพเลอร์บางตัว  ยังมีชุดคำสั่งที่ยากๆอยู่ในตัวแล้ว  แต่ไม่ได้นำมาใช้งานใน CISC นี้เลย

8.Reduced Instruction Set Computer (RISC)
       เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดหนึ่งที่มีชุดคำสั่งจำนวนไม่มากนัก ตรงข้ามกับ CISC (Complex Instruction Set Computer) คอมพิวเตอร์แบบ RISC สามารถกระทำการตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็วมากเพราะคำสั่งจะสั้น นอกจากนั้นชิพแบบ RISC ยังผลิตได้ง่ายกว่าอีกด้วย (เนื่องจากใช้จำนวนทรานซิสเตอร์น้อยกว่า) ตัวอย่างชิพประเภทนี้ได้แก่ ARM, DEC Alpha, PA-RISC, SPARC, MIPS, และ PowerPC

RISC เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต ทั้งนี้เพราะการใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น ปกติ หากพิจารณาจำนวนบิตที่เท่ากันระหว่างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบ CISC กับ RISC แล้ว จะพบว่าคอมพิวเตอร์แบบ RISC จะเร็วกว่าแบบ CISC ประมาณ 3 เท่า หลักการอย่างง่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ RISC คือ ออกแบบให้ซีพียู (CPU) ทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่แน่นอน โดยพยายามลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือเป็นคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการไปป์ไลน์ (pipeline) คือ การทำงานแบบคู่ขนานชนิดเหลื่อมกัน (overlap) ปกติแล้วการทำงานใน 1 ชุดคำสั่งจะใช้เวลามากกว่า 1 วงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle) หากแต่การทำคำสั่งเหล่านั้นให้มีการทำงานในลักษณะเป็นแถว (pipe) และขนานกันด้วย จึงทำให้ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมของเวลาเป็นคำสั่งละหนึ่งวงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle)

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบ RISC ได้แก่ mips รุ่น R 2000 ได้ออกแบบชุดคำสั่งไว้ชัดเจนว่ามีการทำงานแบบ 5 ขั้นตอน นั่นคือเป็นการทำงานแบบขนานถึง 5 ระดับด้วยกัน

9.ระบบปฏิบัติการ DOSระบบปฏิบัติการดอส
(DOS : Disk Operating System)
       เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย


ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ  MS-Dos
       การใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร Text Mode

ข้อเสีย คือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Microsoft Windows Version 1.0 และเรื่อยมาจนถึง Version 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานแบบกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก คุณสมบัติเด่นของ Microsoft Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูทเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน

10.ระบบปฏิบัติการ WINDOWS XP
MICROSOFT WINDOWS EXPERIENCE


       เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ ทุกๆ 2 ปี บริษัทผู้ผลิตจะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นข้อด้อยของรุ่นเก่า Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่าๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง

ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ WINDOWS XP
       Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น

11.ระบบปฏิบัติการ MAC
        เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)

ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ MAC
12.ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
       เป็นระบบปฏิบัติการที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bellสร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์   และเมนเฟรม   ใช้ในการควบคุมการทำงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก   ดังนั้นยูนิกซ์    จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่    และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถนำยูนิกซ์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ คาดว่ายูนิกซ์จะเป็นที่นิยมต่อไป

ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ UNIX
13.ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์


       เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง  ในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงาน  มาจากยูนิกซ์ แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่า  เป็นระบบปฏิบัติการ ประเภทแจกฟรี (Open Source) ผู้นำไปใช้งาน สามารถที่จะพัฒนาและปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหาระหว่างใช้งานได้ทันที อีกทั้งยังสามารถปรับให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่ใช้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบมากที่สุด และยังมีการเพิ่มสมรรถนะ (Update) อยู่ตลอดเวลา


ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ LINUX

14.ระบบปฏิบัติการมือถือ os คืออะไร?


       ระบบปฏิบัติการมือถือ (Mobile operating system)  (โอเอส = OS) คือ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาให้เป็นตัวกลางจัดสรรระบบนิเวศระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในเครื่องหรือฮาร์ดแวร์ ให้ซอฟท์แวร์ต่างๆที่เราติดตั้งสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ผู้ออกแบบระบบต้องการ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการมือถือที่เป็นที่นิยมประกอบด้วย
1. iOS   เจ้าของคือบริษัทแอปเปิ้ล ที่ใช้ในมือถือไอโฟน
2. Android   เจ้าของคือ กลูเกิล ที่ใช้ในมือถือทั่วไป (ได้รับความนิยมสูงสุด)

3. Window Phone เจ้าของไมโครซอฟท์


แหล่งที่มา
1.http://chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=93&Itemid=112 สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
2.http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/na60.htm สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
3.https://sites.google.com/site/pc5830122113003/os_pc-1 สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
4.http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/t16.htm สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
5.https://sites.google.com/site/sthapatykrrmsiphiyu/sthapatykrrm-khxng-siphiyu/cisc-complex-instruction-set-computer สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
6.https://th.wikipedia.org/wiki/RISC สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
7.https://beerkung.wordpress.com/ สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
8.https://beerkung.wordpress.com/-windows-xp/ สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
9.https://beerkung.wordpress.com/ สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
10.https://beerkung.wordpress.com/ สืบค้นเมื่อ 21/12/2559
11.https://beerkung.wordpress.com/ สืบค้นเมื่อ 21/12/2559

12.http://www.wesmartphonechannel.com/terminology/mobile-operating-system/ สืบค้นเมื่อ 21/12/2559


(บทที่ 3)
ระบบปฏิบัติการกับการจัดการทรัพยากรระบบ โปรเซส คือ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบปฏิบัติการกับการจัดการทรัพยากรระบบ โปรเซส
       โดยความหมายในทางปฏิบัติแล้ว process หมายถึงโปรแกรมที่กำลังถูกประมวลผลในการทำงานทั่วไปในระบคอมพิวเตอร์นั้นผู้ใช้อาจต้องการเรียกใช้ word processorหรือjava compilerหรือโปรแกรมอื่นซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนให้เป็น processผ่านกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ ช่วงชีวิตของโปรแกรมที่กำลังถูกประมวลผลนี้มีอยู่หลายสถานะ (process state) และตัวของprocessเองก็ต้องมีที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวมันเองซึ่งเราเรียกส่วนนี้ว่า process control block (PCB)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การโปรเซสของ CPU
การโปรเซสของ CPU
สถานะของกระบวนการ (Process State) 
       ระบบคอมพิวเตอร์แบบหลายโปรแกรม (Multiprogramming)และแบบผู้ใช้หลายคน (Multiuser)จะมีกระบวนการที่ทำงานอยู่ในระบบหลายกระบวนการพร้อมๆกันโดยที่บางกระบวนการกำลังขอเข้าใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง (CPU)บางกระบวนการกำลังใช้งานหน่วยประมวลผลกลางอยู่บางกระบวนการกำลังร้องขออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลอยู่พฤติกรรมของกระบวนการเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่า "สถานะกระบวนการ"(State of Process)กระบวนการ(Process)หมายถึงคำสั่งในโปรแกรมที่ถูกประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลกลางหรืออีกในหนึ่ง ณ เวลาใดๆจะมีเพียงอย่างมาหนึ่งคำสั่งที่ดำเนินการอยู่สถานะของกระบวนการ(Processtate)กระบวนการต่างๆที่กำลังทำงานอยู่ในระบบเดียวกันจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของกระบวนการถึง 5 สถานะด้วยกัน ซึ่งสถานะดังกล่าวจะถูกกำหนดขึ้นโดยกิจกรรม ณ เวลาปัจจุบันที่กระบวนการนั้นๆกำลังกระทำอยู่โดยที่แต่ละ

กระบวนการจะตกอยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่งจากสถานะทั้ง 5 ต่อไปนี้

       New กระบวนการใหม่กำลังถูกสร้างขึ้น

       Running กระบวนการกำลังทำงานตามคำสั่งในโปรแกรม

       Waiting กระบวนการกำลังรอคอยให้เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น

       Ready กระบวนการกำลังรอคอยที่จะเข้าใช้หน่วยประมวลผล
       Terminate กระบวนการเสร็จสิ้นการทำงาน orde .. f.-..0 .0. . windowtext .5pt; mso-border-alt:solid windowtext .5pt;padding:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt'>ตัวชี้หน่วยความจำที่ process ใช้อยู่Context dataข้อมูลที่อยู่ใน register ของ process ขณะถูกประมวลผลI/O status informationข้อมูลของ I/O ที่ process เกี่ยวข้องAccounting information ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาของCPU ที่process ใช้, เวลาที่ใช้ไป, ช่วงเวลาที่สามารถใช้ได้และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

แสดงแผนภาพสถานการณ์ของกระบวนการ
 สถานะของโปรเซส


1.New 
       เป็นสถานะของกระบวนการใหม่ที่กำลังถูกสร้างขึ้นหรือกระบวนการเลือกมาจากหน่วยความจำสำรอง(Disk)ซึ่งเป็นคำสั่งที่ผู้ใช้เรียกใช้ผ่าน Command Interpreterแปลเป็นคำสั่งไปเรียกระบบปฏิบัติการให้ดึงข้อมูลหรือโปรแกรมมาตามคำสั่งของผู้ใช้เพื่อเข้ามาประมวลผลในระบบ เมื่อคำสั่งต่างๆถูกเรียกเข้ามาคำสั่งเหล่านั้นจะมาเข้าแถวรอในแถวงาน(Job Queue) เตรียมเปลี่ยนสถานะเพื่อทำงาน
2.Ready  
       เป็นสถานะของกระบวนการที่เตรียมตัวเข้าไปใช้งานหน่วยประมวลผลกลางในสถานะนี้จะเปลี่ยนมาจาก New หรือ Waiting หรือ Running ก็ได้ กระบวนการที่มาจาก New, Waiting หรือ Running จะเข้าแถวคอยเพื่อเข้าไปใช้หน่วยประมวลผลกลางแถวคอยนี้เราเรียกว่า(Ready Queue)
3.Running 
       เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้เข้าไปใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจะมีเพียง 1 กระบวนการเท่านั้นที่อยู่ในสถานะนี้ของระบบ1ระบบ(มีเพียงกระบวนการเดียวเท่านั้นที่จะได้ใช้หน่วยประมวลผลกลางของแต่ละระบบ) เนื่องจากข้อจำกัดของประมวลผลกลางทำงานด้วยความเร็วสูงมาก จึงไม่มีปัญหาในเรื่องการรอ
4.Terminate 
       เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้รับการประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแล้วหรือกระบวนการ มีการทำงานที่ผิดปกติ เช่น มีการหารด้วยศูนย์ระบบจะหยุดการทำงานของกระบวนการนั้น แล้วแจ้งให้ทราบถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (Error)
5.Waiting  
       เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้เข้าไปใช้หน่วยประมวลผลกลางแล้วและมีการเรียกใช้ อุปกรณ์รับ - ส่งข้อมูลหรืออุปกรณ์ต่างๆซึ่งทรัพยากรเหล่านั้นยังไม่ว่างหรือมีกระบวนการ อื่นใช้อยู่(เนื่องจาก CPU ทำงานเร็วกว่าอุปกรณ์รับส่งข้อมูลมาก)กระบวนการเล่านั้นจะเปลี่ยนจากRunningมารอในสถานะนี้อาจมีกระบวนการหลายกระบวนการรออยู่จึงมีการจัดคิวในการรอทรัพยากรต่างๆเรียกว่า Device Queue หรือ Waiting Queue
การจัดตารางการทํางานมาก่อนได้ก่อน 
       แบบมาก่อนได้ก่อน (First- Come-First-Served-Scheduling: FCFS) เป็นวิธีการจัดการที่มีความเข้าใจง่าย กล่าวคือโปรเซสใดก็ตามที่มีการร้อนขอซีพียูก่อนก็สามารถครอบครองเวลาซีพียูได้ก่อน โดยเป็นไปตามลำดับเวลาของการเข้ามาในลำดับคิวข้อดีของการจัดคิวแบบ FCFS นั้นเป็นอัลกอริทึมที่ง่าย  ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

รูปที่ 1 การกำหนดเวลาแบบ FCF
การจัดตารางการทํางานแบบหมุนเวียนการทำงาน
       แบบหมุนเวียนกันทำงาน (Round-Robin Scheduling)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา โดยใช้พื้นฐานวิธีแบบมาก่อนได้ก่อนเป็นหลัก ซึ่งแต่ละโปรเซสจะใช้บริการซีพียูด้วยเวลาที่เท่าๆ กัน หมุนเวียนกันไป ที่เรียกว่า เวลาควันตัม (Quantum Time)
1.การจัดการหน่วยความจำ       
       การจัดสรรหน่วยความจำ (Memory Allocation)
ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ล้วนแต่ต้องถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำหลัก และการที่โปรแกรมสามารถเข้าไปใช้หน่วยความจำของระบบได้ เพราะระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดสรรให้นั่นเอง

       1.1. การจัดสรรหน่วยความจำแบบต่อเนื่อง
หลักการว่าโปรแกรมใดๆ ก็ตามจะโหลดเข้ามายังหน่วยความจำหลักได้ก็ต่อเมื่อมีขนาดหน่วยความจำใหญ่พอที่วางชุดคำสั่งของโปรแกรมเหล่านั้นลงไปได้ทั้งหมด

       1.2. การจัดสรรหน่วยความจำแบบไม่ต่อเนื่อง
หลักการว่าโปรแกรมที่โหลดเข้าไปยังหน่วยความจำนั้น จะแบ่งเป็นกลุ่ม แยกออกเป็นส่วนๆ หลายๆ ส่วนด้วยกัน

       ระบบโปรแกรมเดี่ยว (Single Program/Mono programming)
คือระบบปฏิบัติการที่สามารถรันโปรแกรมของผู้ใช้ได้เพียงครั้งละหนึ่งเท่านั้น เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS

       ระบบหลายโปรแกรม (Multiprogramming)
คือระบบปฏิบัติการที่สามารถรันหลายๆ โปรแกรมได้ในขณะเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, Unix และ Linux เป็นต้น

       หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
เกิดขึ้นจากหลักการที่ว่า ถึงแม้ว่าโปรแกรมที่นำมาโปรเซสจะมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำหลักที่มีอยู่จริงก็ตาม แต่ก็สามารถรันโปรแกรมเหล่านั้นได้ ด้วยการจำลองพื้นที่หน่วยความจำบนฮาร์ดดีสก์เสมือนหนึ่งเป็นหน่วยความจำหลัก

2.การจัดการแฟ้มข้อมูล
มีหลักการอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

       2.1. การบันทึกข้อมูลในไฟล์แบบเรียงติดกัน
ข้อมูลในแต่ละไบต์ของไฟล์จะถูกบันทึกในลักษณะเรียงต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งจบไฟล์

       2.2. การแบ่งไฟล์เป็นบล็อก
ไฟล์จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละบล็อกจะนำไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งใดในฮาร์ดดีสก์ก็ได้  โดยแต่ละบล็อกจะมีลิงก์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงตำแหน่งของข้อมูลที่อยู่ในลำดับถัดไป จนพบรหัส EOF (End of File) จุดจบ




























แหล่งที่มา
1.https://sites.google.com/site/bthreiynbththi99/1/kar-pramwl-phl-hrux-por-ses สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
2.https://sites.google.com/site/rabbpdibatikar2/1-baeb-ma-kxn-di-kxn สืบค้นเมื่อ 8/12/2559

3.https://sites.google.com/site/mareesa93/hnwy-kar-reiyn-ru3 สืบค้นเมื่อ 8/12/2559


บทที่ 2 
โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

โครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์และโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ
สรุป

ระบบคอมพิวเตอร์  ( Computer  System)
            ในการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแล้วให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามความต้องการของผู้ใช้งาน นั้น  ย่อมต้องมีองค์ประกอบที่เรียกว่า ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์หลายประเภททำงานร่วมกัน โดยมีคำสั่งหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเป็นตัวสั่งการให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงาน ได้ตามที่มนุษย์ต้องการ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงระบบคอมพิวเตอร์สิ่งสำคัญของระบบจึงได้แก่ ฮาร์ดแวร์(hardware) ซอฟต์แวร์(software) และบุคลากร(Peopleware) นั่นคือ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

ฮาร์ดแวร์(hardware)
ซอฟต์แวร์(software)
บุคลากร(Peopleware)

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบ โครงสร้าง รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มนุษย์สามารถมองเห็นและสัมผัสได้  หน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก็คือ  ทำงานตามคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆ  ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้
          1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone), ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
          
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
               - หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
               - หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
               - หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล
          3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงาน อื่น ๆ ได้โดยตรง มี 2 ประเภท
               3.1 หน่วยความจำภายใน
                     - หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
                     - หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
                3.2 หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
                      - แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
                      - แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
                      - แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
          4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)

  ซอฟแวร์ (Software) คือ  คำสั่ง หรือชุดคำสั่ง  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  และเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์)  สามารถสื่อสารกันได้  ทั้งนี้อาจแบ่งซอฟต์แวร์ตามหน้าที่ของการทำงานได้ดังนี้ 

          1. โปรแกรมจัดระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
          2. โปรแกรม์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
               - โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล เช่น  Microsoft  Access  Oracle
               - โปรแกรมพิมพ์เอกสาร  เช่น  Microsoft  Word
               - โปรแกรมสร้าง  Presentation  เช่น  Microsoft  Power  Point
               - โปรแกรมช่วยสอน  (CAI - Computer  Aids Intrruction )
               - โปรแกรมคำนวณ  เช่น  Microsoft  Excel


รูปโปรแกรมประเภทต่างๆ


รูปโปรแกรมประเภทต่างๆ (ต่อ)
          3. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้เครื่องมืในการช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความคล่องตัว ขึ้น  และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้งานได้ เช่น
                - โปรแกรมกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เช่น Mcafee, Scan, Norton Anitivirus
                - โปรแกรมที่ใช้บีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถคัดลอกไปใช้ได้สะดวก เช่น Winzip เป็นต้น
          4. โปรแกรมแปลงภาษา (Language Translater) ใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆ โดยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และใช้โปรแกรมแปลงภาษาดังกล่าวทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น (High Level Language) ให้ไปเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ (Low Level Language)
         โปรแกรมแปลงภาษาโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
         4.1 คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นทั้งหมด (ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย) ในคราวเดียวกัน เช่น ภาษา Pascal, C, C++
         4.2 อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่ง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา ทำให้ง่ายต่อการแก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดได้ทันที เช่น ภาษา Basic

  พีเพิลแวร์ (People Ware) หรือผู้ใช้ระบบ  ในระบบคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งที่จะก่อใ้เกิดผลลัพธ์จากการ ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ด้วยเหตุที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างชุดคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาเพื่อควบคุมการ ทำงานของเครื่องนั่นเอง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับต่างๆ ดังนี้           1. ผู้บริหาร (Manager) ทำหน้าที่กำกับดูแลวางแนวนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้องค์กรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           2. นักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ (System Analysis & Deign) ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน เพื่อนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน
           3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ทำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
           4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์



อินเตอร์รัพท์เวคเตอร์และกลไกการอินเตอร์รัพท์

 อินเตอร์รัพท์เวคเตอร์ มีบทบาท ในการ กระโดด ไปยัง ตำแหน่งใหม่ เมื่อ ซีพียูได้รับ สัญญาณ อินเตอร์รัพท์ ดังนี้ คือ เมื่อซีพียู ได้รับ สัญญาณ อินเตอร์รัพท์ ซีพียู จะตอบรับ และกระโดด ไปทำ ยังตำแหน่งที่ บอก อินเตอร์รัพท์เวคเตอร์ มาจากไหน โดยหลักง่ายๆ สัญญาณ อินเตอร์รัพท์ เป็นสัญญาณเกิด จาก วงจรภายนอก ซีพียู ดังนั้น วงจรภายนอก ที่เป็นตัวกำเนิด สัญญาณ INT นี้ ต้องเป็นผู้ บอกให้ซีพียู รู้ว่า จะต้อง ไปทำคำสั่ง ที่ไหน นั่นคือ วงจรภายนอก จะต้องเป็นผู้ ให้อินเตอร์รัพท์ เวคเตอร์ ซึ่งเป็น ตัวเลข ไบนารี แก่ซีพียู ในเวลา ที่ซีพียู ตอบรับรู้ สัญญาณ นั่นเอง เราอาจ เรียกง่ายๆ ว่า ขบวนการ Interrupt acknowledge คือ การตอบรับรู้ วงจรภายนอก ที่กำเนิดสัญญาณ อินเตอร์รัพท์นั้น และ ขอรับ อินเตอร์รัพท์ เวคเตอร์ จากวงจร ภายนอก นั่นเอง
ลำดับชั้นของหน่วยความจำ (Memory Hierarchy)


หน่วยความจำมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน  แต่ละชนิดต่างก็มีอัตราความเร็วที่แตกต่างกันรวมทั้งขนาดความจุและราคาที่แตกต่างกัน  สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า เพื่อให้เราเลือกหน่วยความจำใช้งานได้อย่างเหมาะสมนั้นเอง

               จากรูปที่ 1 หน่วยความจำลำดับบนสุดเป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง และลดหลั่นลงมาเรื่อย ๆ ก็จะมีความเร็วทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น  ในทำนองเดียวกกัน หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่นั้นจะมีต้นทุนหรือราคาต่ำกว่าหน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก

รูปที่1. ลำดับชั้นหน่วยความจำ  (Memory Hierarchy )
             จะเห็นว่าน่วยความจำยิ่งมีขนาดความจุสูงเท่าไร  จะมีการแอคเซสข้อมูลที่ช้า  และมีราคาถูก  เช่น  เทป ฮาร์ดดิสก์ ในขณะที่หน่วยความจำที่ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไรย่อมมีความเร็วสูง  เช่น  รีจิสเตอร์  หน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลักแต่นั่นหมายถึงราคาหรือต้นทุนที่ต้องเพิ่มสูงด้วย

        หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป หน่วยความจำชนิดนี้ เช่น แรม

แรม (Random Access Memory : RAM) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. สแตติกแรม หรือเอสแรม (Static RAM : SRAM) มักพบในตัวซีพียูทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม
2. ไดนามิกแรม หรือ ดีแรม (Dynamic RAM : DRAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซีมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพงและมีความจุสูง


หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ (non volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมุลได้ แม้ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ตัวอย่างของหน่วยความจำชนิดนี้ เชี่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟรซ

– รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้

– หน่วยความจำแบบแฟรซ (flash memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้
ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีการใช้รอมในการเก็บไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไบออสทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นกระบวนการบูต (boot) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรซในการเก็บไบออสแทน


การป้องกันหน่วยความจำ (Memory Protection)


โดยปกติจำนวนบิต (Bits) ที่เก็บอยู่ในตารางเพจ (Page Table) เราสามารถกำหนดบิตเพื่อใช้การตรวจสอบและกำหนดเพจในการ อ่าน-เขียน (Read-Write) หรืออ่านข้อมูลเท่านั้น (Read-Only) ซึ่งเรียกบิตพิเศษนี้ว่า “กลุ่มบิตป้องกัน (Associating Protection Bits)” ให้กับทุกๆ เฟรม ที่อยู่ในหน่วยความจำ (Main Memory) ซึ่งแบ่งบิตสถานะออกเป็น 2 บิต คือ
1. บิตใช้งานได้ (Valid Bit) เป็นบิตสถานะที่บอกว่าข้อมูลในเพจถูกอ่านเข้าสู่หน่วยความจำทางกายภาพแล้ว และสามารถนำไปใช้งานได้ทันที
2. บิตใช้งานไม่ได้ (Invalid Bit) เป็นบิตสถานะที่บอกว่าข้อมูลในเพจนั้นไม่มีอยู่ในหน่วยความจำทางกายภาพแล้ว (Physical Memory) และไม่สามารถนำไปใช้งานได้ อาจเกิดจากกรณีที่ระบบปฏิบัติการยังไม่ได้อ่านข้อมูลจากเพจเข้าสู่หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือข้อมูลของเพจที่ต้องการอ่านนั้นถูกสลับ (Swapped) ออกจากหน่วยความจำแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นที่เรียกว่า “การผิดหน้า (Page Fault)” จึงจำเป็นต้องโหลดเพจข้อมูลเข้าสู่หน่วยความจำก่อนแล้วจึงเปลี่ยนค่าของบิตใช้งานไม่ได้ (Invalid Bit) ให้เป็นบิตใช้งานได้ (Valid Bit) แล้วจึงทำการประมวลผลข้อมูลนั้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง



แสดงตารางเพจของบิตที่ใช้งานได้-บิตที่ใช้งานไม่ได้ (Valid (v) or Invalid (i) Bit in a Page Table)


 แหล่งที่มา

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p2.html ค้นหาเมื่อ 8/12/59

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p2-1.html ค้นหาเมื่อ 8/12/59

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p2-2.html ค้นหาเมื่อ 8/12/59

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p2-3.html ค้นหาเมื่อ 8/12/59

http://www.dekdev.com/การป้องกันหน่วยความจำ-memory-pro-2082012/ค้นหาเมื่อ 8/12/59


https://benjarat25b.wordpress.com/2013/02/14/3-2-2-หน่วยความจำ-และการจัดเ/ ค้นหาเมื่อ 8/12/59

(บทที่ 1) 
ความหมายของคอมพิวเตอร์


          คอมพิวเตอร์ (computer) เข้ามามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อสังคมของมนุษย์เราในปัจจุบัน แทบทุกวงการ ล้วนนำคอมพิวเตอร์เข้า ไปเกี่ยวข้องกับการใช้งาน จนกล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นปัจจัย ที่สำคัญอย่างยิ่งต่อ การดำเนินชีวิตและ การทำงานใน ชีวิตประจำวัน ฉะนั้น การเรียนรู้เพื่อทำ ความรู้จัก กับคอมพิวเตอร์จึงถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะ ทราบว่าคอมพิวเตอร์คืออะไร ทำงานอย่างไร และมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร
ประเภทของคอมพิวเตอร์

จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้
       ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
       เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง
       มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
       ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
       1.ฮาร์ดแวร์
          หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม)7 เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังภาพ
       2. ซอฟท์แวร์
          หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อ สั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เรา ก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
            2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
          คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการ ทำงาน ของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
            2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
          คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่นำมาให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บ ข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                 2.1.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละ โปรแกรม ก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของ แต่ละหน่วยงาน ที่ใช้ ซึ่งสามารถ ดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียน ขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
                 2.1.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดย ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำ เป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้อง เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานเรา ขาดบุคลากร ที่มีความชำนาญ เป็นพิเศษ ในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรม สำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
3.บุคลากร(people ware)
          หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
            3.1 ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
            3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
            3.3 โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของ ผู้ใช้ โดยเขียนตาม แผนผังที่นักวิเคราะห์ ระบบได้เขียนไว้
            3.4 ผู้ใช้ (User)
 คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรม ที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและ ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็น ตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ได้รับจากการ กำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น
       4. ข้อมูล(data)
          ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับ โปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียน ขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
       5. บุคลากร(peopleware)
        หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
         5.1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
         5.2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
         5.3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
         5.4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
       1. หน่วยเก็บ (Storage)
         หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็นจุดเด่นทางโครงสร้าง และเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
       2. ความเร็ว (Speed)
         หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทาง โครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
       3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)
         หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง อย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูล ก่อนการประมวลผลเท่านั้น
       4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)
        หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญ ที่สุดในการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้อง กับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูล ที่มนุษย์กำหนด ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูล ที่ไม่ถูกต้องให้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อม ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน5.การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยผ่าน ช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ข้างเคียงต่าง ๆ มาเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายเคเบิ้ลเป็นสื่อกลางในการ
แลกเปลี่ยนชุดข้อมูล ชุดคำสั่ง และข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ คอมพิวเตอร์และระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ข้างเคียง

การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย
จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม

สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก ( Magnetic Disk device )
       สื่อเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็ก ( Magnetic Disk device ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลประเภทที่ใช้งานเป็นลักษณะของจานบันทึก ( disk ) ซึ่งมีหลายประเภท ดังนี้ 

ฟล็อปปี้ดิสก์ ( Floppy disks ) สื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับความนิยมและใช้งานอย่างแพร่หลาย สามารถหาซื้อใช้ได้ตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดิสเก็ตต์ ( diskette ) หรือแผ่นดิสก์ การเก็บข้อมูลจะมีจานบันทึก ซึ่งเป็นวัสดุอ่อนจำพวกพลาสติกที่เคลือบสารแม่เหล็กอยู่ด้านใน และห่อหุ้มด้วยกรอบพลาสติกแข็งอีกชั้นหนึ่งแผ่นดิสก์ในอดีตจะมีขนาด จานบันทึกที่ใหญ่มากถึง 5.25 นิ้ว ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเลิกใช้งานแล้ว จะเห็นได้เฉพาะขนาด 3.5 นิ้วแทน ซึ่งมีขนาดเล็กและพกพาสะดวกกว่า โครงสร้างการทำงานของแผ่นดิสก์จะต้องมีการจัดข้อมูลโดยการ ฟอร์แมต ( format ) เมื่อใช้ครั้งแรกก่อนทุกครั้ง (ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตมักจะมีการฟอร์แมตแผ่นมาตั้งแต่อยู่ในกระบวนการผลิต แล้ว (ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการฟอร์แมตก่อนใช้งานซ้ำอีก)




       แผ่นดิสก์ในอดีตจะมีขนาด จานบันทึกที่ใหญ่มากถึง 5.25 นิ้ว ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมและเลิกใช้งานแล้ว จะเห็นได้เฉพาะขนาด 3.5 นิ้วแทน ซึ่งมีขนาดเล็กและพกพาสะดวกกว่า โครงสร้างการทำงานของแผ่นดิสก์จะต้องมีการจัดข้อมูลโดยการ ฟอร์แมต ( format ) เมื่อใช้ครั้งแรกก่อนทุกครั้ง (ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตมักจะมีการฟอร์แมตแผ่นมาตั้งแต่อยู่ในกระบวนการผลิต แล้ว (ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการฟอร์แมตก่อนใช้งานซ้ำอีก)

•  แทรค ( Track ) เป็นการแบ่ง พื้นที่เก็บข้อมูลออกเป็นส่วนตามแนววงกลมรอบแผ่นจานแม่เหล็ก จะมีมากหรือน้อยวงก็ขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้น ซึ่งแผ่นแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความ จุข้อมูลที่จะจัดเก็บต่างกันตามไปด้วย
•  เซกเตอร์ ( Sector ) เป็นการ แบ่งแทรคออกเป็นส่วน ๆ สำหรับเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้ว เซกเตอร์ก็เปรียบได้เหมือนกับห้องพักต่าง ๆ ที่แบ่งให้คนอยู่กันเป็นห้อง ๆ นั่นเอง แผ่นดิสเก็ตต์ที่พบทั่วไปในปัจจุบันจะเป็นแบบความจุสูงหรือ high density สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 1.44 MB ซึ่งเราอาจคำนวณหาความจุข้อมูลของแผ่นดิสก์ได้โดยการเอาจำนวนด้านของแผ่นจาน แม่เหล็ก ( side ) จำนวนของแทรค ( track ) จำนวนของเซคเตอร์ในแต่ละแทรค ( sector/track ) และความจุข้อมูลต่อ 1 เซกเตอร์ ( byte/sector ) ว่ามีค่าเป็นเท่าไหร่ แล้วเอาตัวเลขทั้งหมดมาคูณกันก็จะได้ปริมาณความจุข้อมูลในแผ่นชนิดนั้น ๆ เมื่อเก็บหรือบันทึกข้อมูลแล้วสามารถที่จะป้องกันการเขียนทับใหม่ หรือป้องกันการลบข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น โดยเลือกใช้ปุ่มเปิด – ปิดการบันทึกที่อยู่ข้าง ๆ แผ่นได้ ซึ่งหากเลื่อนขึ้น (เปิดช่องทะลุ) จะหมายถึงการป้องกัน ( write-protected ) แต่หากเลื่อนปุ่มลงจะหมายถึง ไม่ต้องป้องกันการเขียนทับข้อมูล ( not write-protected ) นั่นเอง
ปุ่มป้องกันการบันทึก

       แผ่นดิสเก็ตต์จะมีอายุการใช้งานที่มากสุดถึง 7 ปี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาต่าง ๆ ด้วย ซึ่งข้อแนะนำเพื่อให้แผ่นดิสเก็ตต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นคือ ควรเก็บรักษาแผ่นดิสเก็ตต์ให้มีอายุยาวนานขึ้นคือ ควรเก็บรักษาแผ่นไว้ในอุณหภูมิที่พอเหมาะไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ตลอดจนหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง รวมถึงการเก็บรักษาแผ่นดิสเก็ตต์ไว้ในอุปกรณ์จัดเก็บที่ปลอดภัย เช่น กล่องหรือถาดเก็บเฉพาะ เป็นต้น
สื่อเก็บข้อมูลแสง ( Optical Storage Device )
  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สื่อเก็บข้อมูลแสง ( Optical Storage Device )
สื่อเก็บข้อมูลแสง ( Optical Storage Device )
เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากใน ปัจจุบัน ซึ่งใช้หลักการทำงานของแสงเข้ามาช่วย การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก แต่ต่างกันที่การแบ่งวงของแทรคจะแบ่งเป็นลักษณะคล้ายรูปก้นหอยและเริ่มเก็บ บันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก และแบ่งส่วนย่อยของแทรคออกเป็นเซกเตอร์เช่นเดียวกันกับแผ่นจานแม่เหล็ก

   การอ่านข้อมูลจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกไปกระทบพื้นผิวของแผ่นจานซึ่งจะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ( pit ) ซึ่งเป็นมีลักษณะเป็นหลุมไม่สามารถสะท้อนแสงได้กันแลนด์( land ) หรือส่วนที่เป็นผิวเรียบซึ่งสามารถสะท้อนแสงกลับออกได้ เมื่อหัวยิงแสงเลเซอร์ตกลงไปบนส่วนของพิตจึงไม่สามารถสะท้อนกลับได้(ค่ารหัส เป็น0) ถ้าตกลงส่วนของแลนด์ซึ่งเป็นผิวเรียบจะสามารถสะท้อนกลับออกมาได้(ค่ารหัส เป็น 1) นั่นเอง หลักการนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจข้อมูลในรหัสค่าดิจิตอล 0 กับ 1 ได้โดยใช้หลักการอ่านส่วนที่เป็นหลุมทึบแสงและส่วนสะท้อนแสงได้ออกมา ปัจจุบันมีสื่อเก็บข้อมูลแบบแสงที่รู้จักกันอย่างดี ดังนี้
CD (Compact Disc) เป็น สื่อเก็บข้อมูลด้วยแสงแบบแรกที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายและปัจจุบันก็ยัง เป็นที่นิยมอยู่ เนื่องจากมีราคาถูกลงกว่าสมัยก่อนมาก ซึ่งแยกออกได้ดังนี้



   
•  CD-ROM (Compact disc read only memory) เป็น สื่อเก็บบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้สำหรับติดตั้งในคอมพิวเตอร์รวม ถึงเก็บผลงานไฟล์มัลติมีเดีย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI – computer assisted instruction ) หรือ CD-Training ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียวแต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลซ้ำ ได้ สามารถจุข้อมูลได้ถึง 650-750 MB โดยมากแล้วจะเป็นแผ่นที่ปั๊มมาจากโรงงานหรือบริษัทผู้ผลิตมาแล้ว
•  CD-R (Compact disc recordable) พบ เห็นได้ตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป มีราคาถูกลงอย่างมาก แผ่นแบบนี้สามารถใช้ไดรซ์เขียนแผ่น ( CD Write ) บันทึกข้อมูลได้และหากเขียนข้อมูลลงไปแล้วยังไม่เต็มแผ่นก็สามารถเขียน เพิ่มเติมได้ แต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่เขียนไว้แล้วได้ เนื่องจากเนื้อที่บนแผ่นแต่ละจุดจะเขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว เขียนแล้วเขียนเลยจะลบทิ้งอีกไม่ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกไฟล์ข้อมูลเพื่อเก็บรักษาทั่วไป เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล เพลง mp3 หรือไฟล์งานข้อมูลซึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
CD-RW (Compact disc rewritable) แผ่น ชนิดนี้มีลักษณะหน้าตาเหมือนกับแผ่น CD-R ทุกประการแต่มีข้อดีกว่าคือ นอกจากเขียนบันทึกข้อมูลได้หลายครั้งแล้ว ยังสามารถลบข้อมูลและเขียนซ้ำใหม่ได้เรื่อย ๆ เหมือนกับการบันทึกและเขียนซ้ำของดิสเก็ตต์ อย่างไรก็ตามแผ่น CD-RW ขณะนี้ยังมีราคาสูงกว่า CD-R อยู่พอสมควร จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและเก็บ ข้อมูลไว้ในระยะเวลาอันสั้น ไม่ถาวร ซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก เพราะสามารถลบทิ้งแล้วเขียนใหม่อีกได้ถึงกว่าพันครั้ง
หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory)
       หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม (Electrically Erasable Programnable Read Only Memory : EEPROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำข้อดีของรอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูล ในเหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตาม ต้องการ และเก็บข้อมูลได้ แม้ไ่ม่ได้ต่อเข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก มักใช้เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ในอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล เช่น กล้องดิจิทัล กล้องวีดิทัศน์ ที่เก็บข้อมูล แบบดิจิทัล




       เป็นที่ทราบกันดีว่า หน่วยความจำแบบแฟลชที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ช่วยให้การทำงานต่าง ๆ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีการโอนถ่ายข้อมูลที่ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น กระแสความนิยมในสื่อบันทึกข้อมูลเหล่านี้จึงเพิ่มมากขึ้นทุกที แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สื่อประเภทนี้แม้จะใช้ โอนถ่ายข้อมูลอยู่เสมอ ๆ แต่กลับด้อยในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยมากเกินไป

       การดึงข้อมูลจากหน่วยความจำแบบแฟลชนั้น ผู้ดูแลระบบจะไม่สามารถควบคุมการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง
สื่อ ทั้งสองชนิด ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำแบบแฟลชได้เลยแม้แต่น้อย แตกต่างจากอีเมล ซึ่งผู้ดูแล ระบบสามารถควบคุมได้โดยตรง รวมถึงการทำงานบนเน็ตเวิร์กชนิดอื่น ๆ ทำให้ขณะนี้เกิดความวิตกกังวลว่า สื่อเก็บข้อมูลชนิดนี้จะกลายเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของระบบเน็ตเวิร์กองค์กรไปในที่สุด

        อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบแฟลชที่สามารถถอดและเคลื่อนย้ายได้นั้น กลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความนิยมเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผานมา เพราะมันสามารถเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เอาไว้ได้ เราจึงใช้อุปกรณ์ชนิดนี้เปรียบเสมือนเป็นฮาร์ดดิสก์ตัวน้อย ๆ กันเลยทีเดียว การเชื่อมต่อก็ง่ายมาก เพียงเสียบสาย USB ผ่านทางพอร์ต USB ก็สามารถดึงข้อมูลกันได้แล้ว
อุปกรณ์ต่อพ่วง
       หมายถึง  อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้

อุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
       1.แผงพิมพ์อักขระ
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไปยังประมวลผลกลาง  แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี  50  แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ
       2.เมาส์
เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ  แบ่งเป็น 2 ประเภท
         2.1  เมาส์ทางกล
         2.2  เมาส์แบบใช้แสง
       3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา  ซึ่งมี 3ประเภท
         3.1ลูกกลมควบคุม
         3.2แท่งชี้ควบคุม
         3.3แผ่นรองสัมผัส
       4.ก้านควบคุม เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอ มีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง
       5.จอสัมผัส
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
       6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ  ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท
         6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการของการสะท้อนแสง  เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
         6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง  ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ
         6.3 กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็กแฟลช
       7.เว็บแคม
เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้
       8.จอภาพ มี2 ชนิด
         1.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์  ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน  โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น
         2.จอภาพแบบแอลซีดี   ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง  ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า  มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ
       9. ลำโพง
เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไปยังลำโพง
       10.หูฟัง
เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง  มีทั้งชนิดไร้สายและมีสาย บางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย    
       11. เครื่องพิมพ์
เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์
         11.1 เครื่องพิมพ์แบบจุด
         11.2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์
         11.3 เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
         11.4 พล็อตเคอร์
       12. โมเด็ม
เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมเข้ากับคู่สายของโทรศัพท์   แล้วโมเด็มก็จะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก
       13.เคส
คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

       14. พาวงเวอร์ซัพพลาย
   เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
       15.เมนบอร์ด
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
       16.ซีพียู
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
       17. การ์ดแสดงผล
     การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
       18.แรม
     RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
       19. ฮาร์ดดิสก์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
       20. ฟล็อปปี้ดิสก์
     เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
       21.เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ    ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้

ระบบปฏิบัติการคือ

       ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรมประยุกต์  ทำหน้าที่
โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ระบบ ปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์  ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้   เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์  Keyboard ขณะเปิดเครื่อง  ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด  “Keyboard Error”  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ  อำนวยความสะดวกในการใช้งาน  และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ
       ยุคที่ 1 หลอดสูญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ
ช่วงปี ค.ศ. 1945 ถึง ค.ศ. 1955 มีการผลิตเครื่องจักรในการคำนวณโดยใช้หลอดสุญญากาศ ( Vacumm Tube ) ขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่มากประกอบด้วย
   หลอดสุญญากาศประมาณ 10,000 หลอด    แต่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันมาก และมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้ใช้งาน และเชี่ยวชาญกับเครื่องดังกล่าว    ในการสั่งงานให้เครื่องทำงานตามโปรแกรมที่กำหนดจะต้องทำงานโดยตรงกับ เครื่องโดยใช้ฮาร์ดแวร์ในการสั่งงาน หรือที่เรียกว่าปลั๊กบอร์ดซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมการ ทำงาน
   ภาษาคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่เกิดขึ้น    จึงต้องมีการควบคุมการทำงานของเครื่องโดยคนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีส่วนของโปรแกรมควบคุมระบบในการทำงานจึงถือว่าไม่มีระบบปฏิบัติการ สำหรับใช้งาน
       ยุคที่ 2 ทรานซิวเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทซ์
         ช่วงปี ค.ศ. 1955 ถึง ค.ศ. 1965 ได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ทำให้วงการคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก    โดยได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มาใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการสร้าง คอมพิวเตอร์แทนการใช้หลอดสุญญากาศแบบเดิม    และเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจ    และในช่วงนี้เองที่มีการแบ่งกลุ่มหรือจัดสรรบุคลากรที่ทำงานทางด้าน คอมพิวเตอร์ออกเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าที่การทำงานเฉพาะด้านอย่างชัดเจน    จากเดิมที่คนเพียงคนเดียวทำงานทุกอย่างกลายเป็นแต่ละคนจะมีหน้าที่เฉพาะ อย่างเช่น    ผู้ออกแบบระบบ นักเขียนโปรแกรม พนักงานบันทึกข้อมูล ผู้บำรุงรักษาเครื่องเป็น
       ในช่วงนี้ก็ได้มีการพัฒนาภาษา ฟอร์แทรน ( FORTRAN ) ขึ้นเพื่อใช้งานซึ่งถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาแรก โดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกข้อมูล    การเขียนโปรแกรมแต่ละครั้งจะเป็นการเขียนโปรแกรมลงกระดาษก่อนแล้วจึงนำไป ในห้องบันทึกเพื่อทำการเจาะบัตรตามโปรแกรมที่เขียนไว้    ต่อจากนั้นจะส่งบัตรไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล    เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงานเสร็จพนักงานควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์    จะนำผลที่ได้ไปยังห้องแสดงผลเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้อง ของโปรแกรมที่ตนเขียน ซึ่งจะเห็นว่ามีขั้นตอนในการทำงานมาก    และเสียเวลาในการทำงานมาก    และจากการที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งานมาก
        นักออกแบบระบบคอมพิวเตอร์จึงได้พยายามหาหนทางที่จะทำให้ การทำงานเร็วขึ้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบการประมวลผลแบบแบทช์ ( Batch Processing System )    ซึ่งเป็นแนวความคิดในการรวบรวมงานจำนวนหลายๆ    งาน    มาเก็บไว้ในเทปแม่เหล็กซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและทำงานได้เร็วกว่าบัตรเจาะรู หลังจากที่มีการรวบรวมงานลงบนเทปแล้ว ก็นำเทปดังกล่าว (บรรจุงาน 1 งาน หรือมากกว่า 1 งาน)    ไปยังห้องเครื่องซึ่งพนักงานควบคุมเครื่องจะติดตั้งเทป และเรียกใช้โปรแกรมพิเศษ (ในปัจจุบันเรียกว่าระบบปฏิบัติการ) เพื่อทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเทปและนำไปประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน ก็จัดเก็บลงบนเทปอีกม้วนหนึ่ง หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็ได้ และเมื่อเสร็จงานหนึ่งๆ ระบบจัดการก็จะทำการอ่านงานถัดไปโดยอัตโนมัติต่อไป และเมื่อหมดทุกงานหรือเทปหมดพนักงานควบคุมเครื่องก็เพียงแต่นำเทปม้วน ใหม่ใส่เข้าไปเพื่อทำงานต่อ และนำเอาเทปที่เก็บผลลัพธ์ไปพิมพ์ที่เครื่องที่จัดไว้เพื่อการพิมพ์ผลโดย เฉพาะ ทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ปริมาณงานมากในระยะเวลาการใช้งานเท่ากันเมื่อเทียบกับการใช้งาน ในรูปแบบเดิม
         งานส่วนใหญ่ที่นำมาใช้งานกับ คอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 นี้ จะเป็นงานที่เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณทางวิศวกรรม การแก้สมการทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะ
    ใช้ภาษาฟอร์แทรน และ    แอสเซมบลี้ ในการทำงาน ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการที่มีใช้งานในยุคนี้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการเอฟเอ็มเอส ( FMS : Fortran Moniter System ) เป็นต้น
       ยุคที่ 3 ยุคไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming)
          ช่วงปี ค.ศ. 1965 ถึง ค.ศ. 1980 การใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มีการขยายขอบเขตการใช้งานไปสู่วงการต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยสามารถแบ่งกลุ่มของงานออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ งานทางด้านธุรกิจ    และงานทางด้านวิทยาศาสตร์    และเพื่อสนองความต้องการการใช้คอมพิวเตอร์ในวงการบริษัทไอบีเอ็มจึงได้ พัฒนาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานทางด้านธุรกิจแต่ยังคงความสามารถในการคำนวณ ข้อมูลทาง
   คณิตศาสตร์ไว้เช่นเดิม เรียกว่าซีสเต็ม 360 ( System 360 ) และได้มีการพัฒนาต่อไปเป็น 370 4304 3080 และ 3090 ในเวลาต่อมา ไอบีเอ็ม 360 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการนำเอา
          เทคโนโลยีไอซีมาใช้จึงทำให้มีความเร็วในการทำงานสูงขึ้นจากเดิมเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความเร็วในการทำงานจะสูงเพียงใดก็ตาม แต่เนื่องจากมีการนำอุปกรณ์อื่นๆ มาเชื่อมต่อ เช่น เครื่องพิมพ์    เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น    จึงทำให้การทำงานที่ช้ากว่ามากจนทำให้หน่วยประมวลผลต้องคอยการทำงานของ อุปกรณ์เหล่านั้น เช่นการอ่านข้อมูลจากเครื่องอ่านบัตรหรือเทปซึ่งในขณะที่ อ่านข้อมูลอยู่นั้นหน่วยประมวลผลไม่ได้ทำงานอื่นเลยเนื่องจากต้องคอยให้อ่าน ข้อมูลเสร็จ
          ก่อนหน่วยประมวลผลจึงจะทำงานต่อไปได้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้เกิดแนวความคิดที่ว่าในขณะที่หน่วยประมวลผล คอยการทำงานของอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งอยู่นั้น    แทนที่หน่วยประมวลผลจะคอยการทำงานของอุปกรณ์ ก็ให้หน่วย    ประมวลผลไปทำงานอื่นๆ ที่มีในระบบและกลับมาทำงานเดิมต่อไปเมื่อการทำงานของอุปกรณ์นั้นเสร็จสิ้น แล้ว ซึ่งการทำงานลักษณะนี้เรียกว่าระบบหลายโปรแกรม
         แนวคิดในการทำงานแบบหลายโปรแกรม นี้ จะมีการแบ่งส่วนของหน่วยความจำเป็นส่วนๆ เพื่อเก็บงานต่างๆ ที่มีในระบบไว้ เมื่องานใดงานหนึ่งมีการคอยหรือมีการติดต่อกับอุปกรณ์ หน่วยประมวลผลก็จะไปทำงานอื่นๆ    ที่มีอยู่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานหน่วยประมวลผลได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือหน่วยประมวลผลไม่ต้องมีการคอยงานเลย แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในหน่วยความจำจะมีการเก็บงานต่างๆ ไว้ แต่หากว่างานที่ทำอยู่มีขนาดใหญ่มาก งานอื่นๆ    จะไม่ได้รับการประมวลผลเลยจนกว่างานที่หน่วยประมวลผลกำลังประมวลผลจะ เสร็จสิ้นเสียก่อนซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องการทำงานอื่นๆ ต้องคอย เช่น หากโปรแกรมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นต้องนำมาแก้ไข และส่งเข้าไปต่อคิวอีกจะทำให้เสียเวลามากขึ้น

       จากการที่ต้องการตอบสนองจากคอมพิวเตอร์ให้รวดเร็วขึ้น จึงได้เกิดแนวความคิดและออกแบบระบบการทำงานแบบจัดสรรเวลา ( Time Sharing ) ขึ้น โดยการจัดสรรเวลาของหน่วยประมวลผลให้บริการงานต่างๆ ที่มีอยู่พร้อมๆ กัน    เช่นถ้ามีงานอยู่ในระบบ 20 งาน หน่วยประมวลผลจะแบ่งเวลามาทำงานของงานที่ 1 งานที่ 2 ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงงานที่ 20 โดยการเปลี่ยนงานซึ่งไม่จำเป็นต้องเสร็จงานใดงานหนึ่งก่อน กล่าวคือในการเปลี่ยนงานจากงานที่ 1 ไปทำงานที่ 2 นั้น    งานที่ 1 อาจจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ได้ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ทำให้ผู้ใช้บริการในระบบทั้ง 20 งานได้รับการตอบสนองหรือได้รับบริการจากคอมพิวเตอร์พร้อมๆ กันได้
       ระบบปฏิบัติการแรกที่ใช้ระบบจัดสรรเวลานี้คือระบบ ปฏิบัติการมัลติก (MULTIC : MULTiplxed Information and Computing Service ) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมสชาชูเซต ( Massachusetts Institute of Technology : MIT ) และต่อมาเคน ทอมสัน ( Ken Tompson ) ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ( UNIX Operating System) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบจัดสรรเวลาเช่นเดียวกันขึ้นมาและเป็นที่ นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถาบันการศึกษา รวมถึงองค์กรทางธุรกิจต่างๆ
       ยุคที่ 4 ยุคคอมพิวเตอร์บุคคล และระบบปฏิบัติการเครือข่าย
          ช่วงปี ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1990 จากการที่ได้มีการคิดค้นและประดิษฐ์วีแอลเอสไอ ( VLSI : Very Large Scale Integrate Circuit ) ได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาได้นำมาใช้ในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขึ้น จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงจากเดิมเป็นอันมาก นอกจากนี้ราคาก็ต่ำลงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่หน่วยงานต่างๆ สามารถมีไว้ใช้งานได้อย่างไม่ยากนัก ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกนำไปไว้ในงานทางด้านธุรกิจ    สถาบันการศึกษา    และหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งรูปแบบการใช้งานนั้นมีทั้งแบบการใช้งานเฉพาะตัว หรืออยู่ในรูปของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน เป็นระบบเดียวกัน และใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบร่วมกันซึ่งเรียกว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network )
        ระบบปฏิบัติการในยุคนี้มี 2 กลุ่มคือกลุ่มที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งได้แก่เอ็มเอสดอสและพีซีดอส ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เอ็มเอสดอสมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นตามวิวัฒนาการของ
   เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกล่าวคือเมื่อมีการพัฒนาสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์เพื่อ เพิ่มขีดความสามารถก็จะมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบปฏิบัติการ ตามไปด้วย และระบบปฏิบัติการอีกกลุ่มหนึ่งคือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ซึ่งเป็น ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องตั้งแต่ระดับไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นไปจนถึง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ต่อมาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการระบบปฏิบัติการกล่าวคือมีระบบ ปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีการเชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกว่าระบบปฏิบัติการเครือข่าย ( Network Operating System : NOS ) ซึ่งทำให้สามารถขยายขอบเขตการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้เป็น อย่างมาก ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีแนวความคิดพื้นฐานไม่ต่างจากระบบจัดการแบบเดิม เท่าใดนัก โดยจะมีการจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมการสื่อสาร และโปรแกรมที่ควบคุมการทำงาน เช่น การเข้าถึงข้อมูล เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตามก็ยังรักษาโครงสร้าง และหน้าที่หลักๆ ของระบบปฏิบัติการเอาไว้เช่นเดิม







หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
        ระบบปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงาน  หรือฮาร์ดแวร์ของระบบ  แบ่งออกได้ดังนี้
       1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User  Interface)
คือ  ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทาง ด้านระบบปฏิบัติการ  โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่  ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ   เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย
 
รูปแสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบปฏิบัติการ ฮาร์ดแวร์ โปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้
       2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
         เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่อง คอมพิวเตอร์  ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง  และสอดคล้อง

       3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ  ในระบบ
         ทรัพยากร  (Resource)  คือ  สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้  เช่น  หน่วยประมวลผล  (CPU)  หน่วยความจำ  (Memory)  อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล  (Input/Output)
 ดังนั้น  ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว  การทำงานของโปรแกรมต่าง ๆก็สามารถทำให้ได้รวดเร็วและได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย

แหล่งที่มา
1.guru.sanook.com/4145/ สืบค้นเมื่อ 8/12/2559

http://image.slidesharecdn.com/random-130914095504-phpapp02/95/-1-638.jpg?cb=1379153033

2.http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page33.htm สืบค้นเมื่อ 8/12/2559

https://sites.google.com/site/alcpraweena/_/rsrc/1468862316625/flxppidisk-floppy-disk/SO08002A-1-300x225.jpg?height=240&width=320

http://gapzi.ueuo.com/img/floppydisk[1].jpg

3.http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page43.htm สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
4.http://www.bs.ac.th/2548/e_bs/G7/raim/in2page1.html สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
5.http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/na46.htm สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
6.http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/flash.htm สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
7.http://nan39.blogspot.com/ สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
8.http://nakizacom.weebly.com/3619363236103610361135993636361036333605363635853634361935883629361736143636362336483605362936193660-operating-system.html สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
9.http://web.kku.ac.th/regis/student/Web2/page2.HTML สืบค้นเมื่อ 8/12/2559
10.http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p5-2.html สบค้นเมื่อ 8/12/2559