DBMS ย่อมาจาก Database Management System
DB คือ Database หมายถึง ฐานข้อมูล
M คือ Management หมายถึง การจัดการ
S คือ System หมายถึง ระบบ
DBMS คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล โดยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข
การ เข้าถึงข้อมูล และการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลทางกายภาพ ภายในฐานข้อมูลซึ่งต่างไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือ หน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDL หรือ จะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMS นำมาแปล (Compile) เป็นการกระทำต่างๆภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลใน ฐานข้อมูลต่อไป
DBMS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน Data Independence ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ทำให้มีความเป็นอิสระจากทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์ และข้อมูลภายในฐานข้อมูลกล่าวคือโปรแกรม DBMS นี้จะมีการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Platform) ของตัวฮาร์ดแวร์ ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลรวมทั้งมีรูปแบบในการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ขึ้น อยู่กับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลด้วยการใช้ Query Language ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลแทนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึง ประเภทหรือขนาดของข้อมูลนั้นหรือสามารถกำหนดลำดับที่ของฟิลด์ ในการกำหนดการแสดงผลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงลำดับที่จริงของฟิลด์ นั้น
หน้าที่ของ DBMS
1.) ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ข้อมูลเข้าใจ
2.) ทำหน้าที่ในการนำคำสั่งต่างๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้วไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล (Delete) หรือ การเพิ่มข้อมูลเป็นต้น (Add) ฯลฯ
3.) ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำได้
4.) ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
5.) ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ใน data dictionary ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า "ข้อมูลของข้อมูล" (Meta Data)
6.) ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
http://www.mindphp.com
ระบบฐานข้อมูล (Database)
ความหมายของระบบฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน
นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น
ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น
ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล
ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน
ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง
ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต
การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้
และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน
เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
ตัวอย่าง
ชื่อฐานข้อมูล
|
กลุ่ม ข้อมูล
|
บริษัท
|
-
พนักงาน
-
ลูกค้า
-
สินค้า
-
ใบสั่งสินค้า
|
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
|
-
นักเรียน
-
อาจารย์
-
วิชา
-
การลงทะเบียน
|
ระบบฐานข้อมูล (Database
System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่
2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลเป็นเพียงวิธีคิดในการประมวลผลรูปแบบหนึ่งเท่านั้น
แต่การใช้ฐานข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
1.
แอพลิเคชันฐานข้อมูล (Database Application)
2.
ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management
System หรือ DBMS)
3.
ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server)
4.
ข้อมูล (Data)
5.
ผู้บริหารฐานข้อมูล ((Database Administrator
หรือ DBA)
แอพพลิเคชันฐานข้อมูล
เป็นแอพพลิเคชันที่สร้างไว้ให้ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้อย่างสะดวก
ซึ่งมี
รูปแบบการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบเมนูหรือกราฟฟิก
โยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเลยก็สามารถเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้เช่น
บริการเงินสด ATM
ระบบจัดการฐานข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูล
หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง
ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล
พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS
ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
Microsoft Access, FoxPro,
SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น
หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มีดังนี้
1.
กำหนดมาตรฐานข้อมูล
2.
ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ
3.
ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
4.
จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล
5.
จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)
6.
รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล
และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย
7.
บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ
8.
เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลในระดับ
ต่าง ๆ
ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
เป็นคอมพิวเตอร์ที่คอยให้บริการการจัดการฐานข้อมูล
ซึ่งก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ระบบจัดการฐานข้อมูลทำงานอยู่นั่นเอง
เพราะฉะนั้นควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความรวดเร็วในการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยทั่วไป
ข้อมูล
ข้อมูล
คือ เนื้อหาของข้อมูลที่เราใช้งาน ซึ่งจะถูกเก็บในหน่วยความจำของดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์
โยจะถูกเรียกมาใช้งานจากระบบจัดการฐานข้อมูล
ผู้บริหารฐานข้อมูล
ผู้บริหารฐานข้อมูล
คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล
ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล
กำหนดในเรื่องความปลอดภัยของการใช้งาน
พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
รูปแบบฐานข้อมูล
ขอยกรูปแบบที่นิยมเท่านั้น
ถ้าต้องการทราบสามารถดูได้จากหนังสือฐานข้อมูลทั่วไป
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
(Relational
Database)ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่นิยมนำมาใช้งานในปัจจุบันมากที่สุดฐานข้อมูลหนึ่ง
โดยผู้ริเริ่มพัฒนาก็คือ อีเอฟ คอดด์ (E.F.Codd)
และระบบจัดการฐานข้อมูลที่ใช้ฐานข้อมูลแบบนี้ ได้แก่ Microsoft Access, DB2
และ Oracle เป็นต้น
ลักษณะโครงสร้างข้อมูลของฐานข้อมูลชนิดนี้
ข้อมูลถูกจัดเก็บในรูปแบบของคาราง (Table) ซึ่งภายในตารางก็จะแบ่งออกเป็นแถว
(Row) และคอลัมน์ (Column) แต่ละตารางจะมีจำนวนแถวได้หลายแถว
และจำนวนคอลัมน์ได้หลายคอลัมน์ แถวแต่ละแถวสามารถเรียกชื่อได้อีกอย่างว่า
ระเบียนหรือเรคคอร์ด (Record) และคอลัมน์แต่ละคอลัมน์เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า
เขตข้อมูลหรือ ฟิลด์ (Field)
ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลในรูปแบบตาราง
คอลัมน์
1 คอลัมน์
2 คอลัมน์
3 คอลัมน์
4
รหัสลูกค้า
|
ชื่อลูกค้า
|
ที่อยู่
|
|
||
0315
0541
0544
|
ศิริคอมพิวส์
วัฒนาสโตร์
ไมโครธุรกิจ
|
ราชเทวี
ศรนครินทร์
บางกะปิ
|
4458452
6501548
7488851
|
ตารางลูกค้า
(Customer Table)
จุดเด่นของข้อมูลเชิงสัมพันธ์
1.
ง่ายต่อการเรียนรู้ และการนำไปใช้งาน
ทำให้เห็นภาพข้อมูลชัดเจน
2.
ภาษาที่ใช้จัดการข้อมูลเป็นแบบซีเควล
ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงเข้าใจง่าย
3.
การออกแบบระบบมีทฤษฎีรองรับ สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
หมายเหตุ ภาษาซีเควล (Structured Query
Language หรือ SQL) เป็นภาษามาตรฐานภาษาหนึ่ง
มีรูปแบบการใช้คำสั่งเป็นภาษาเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจและเรียนรู้
วิธีการใช้งาน ซึ่งกล่าวต่อไป
ตัวอย่างฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
1
1
|
http://mpnn2551.net46.net
โปรแกรมจัดการข้อมูล (Data Management Software)
โปรแกรมจัดการข้อมูล คือ โปรแกรมสำหรับการสร้าง จัดการ และรวบรวมข้อมูล จากไฟล์ต่างๆ โดยมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสร้างระบบสารสนเทศต่างๆ ได้ เพื่อให้ข้อมูลถูกจัดเก็บในรูปแฟ้มข้อมูล
ปัจจุบัน ความต้องการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด จึงทำให้มีการนำฐานข้อมูล มาประยุกต์ใช้ในส่วนงานต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ เพื่อสนองความต้องการของระบบงานต่างๆ ในเวลาเดียวกัน โดยมีข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลาง
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสร้าง หรือดูแลฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูล และเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้ไม่ต้องสร้างแฟ้มข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่งช่วยลดปัญหาความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูล ลดปัญหาความยุ่งยาก ในการบำรุงรักษาข้อมูล และสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล จึงมีหน้าที่ในการควบคุมความคงสภาพของข้อมูล การควบคุมการใช้งานจากผู้ใช้หลายคน การควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล การสำรองข้อมูล และการฟื้นสภาพข้อมูล
การควบคุมการคงสภาพของข้อมูล หมายถึง การควบคุมให้ข้อมูลมีความถูกต้องอยู่เสมอ และไม่มีการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน
การควบคุมการใช้งานจากผู้ใช้หลายคน หมายถึง การควบคุมการใช้ข้อมูลจากผู้ใช้งานหลายคนพร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน ข้อมูลจะต้องมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ผู้ใช้งานทุกคนควรจะได้รับข้อมูลที่ตรงกัน รวมถึงควบคุมลำดับการทำงานของผู้ใช้แต่ละคน ที่ใช้งานฐานข้อมูลด้วย
การควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล หมายถึง การควบคุมการใช้งานข้อมูล ที่จัดเก็บในฐานข้อมูล โดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิในการใช้ข้อมูลเข้ามาเพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูลได้
การสำรองข้อมูล และการฟื้นสภาพข้อมูล หมายถึง คุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในที่หนึ่ง เพื่อเป็นข้อมูลสำรองสำหรับเรียกกลับมาได้ เมื่อข้อมูลปัจจุบันมีปัญหา
การใช้งานโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ผู้ใช้งานจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับฐานข้อมูลเบื้องต้นพอสังเขป เพื่อให้ระบบงาน ที่สร้างโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลต่างๆ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล มีจุดเด่นอยู่ที่การค้นหา และจัดทำรายงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งการแสดงผลบนจอภาพ และการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์
การแสดงผลทางจอภาพสามารถทำได้ โดยใช้ภาษาเรียกค้น หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Query Language ภาษานี้ จะใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติมากที่สุด ผู้ใช้จึงสามารถเรียนรู้การสร้างคำสั่งได้เร็ว การเรียกค้นทำได้ โดยส่งคำสั่งด้วยภาษาเรียกค้น ซึ่งมีเงื่อนไขต่างๆ เข้าไป เพื่อให้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ดึงข้อมูลมาแสดงตามเงื่อนไขที่ต้องการ
การแสดงผลในรูปรายงาน สามารถแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น แสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ และพัฒนาระบบงาน
http://kanchanapisek.or.th
ข้อดีของฐานข้อมูล
1.
หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล
โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้
( Inconsistency )
2.
สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน
เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล
ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
3.
สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล
อาจทำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันถูกเก็บ
ไว้หลาย ๆ แห่ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Reclundancy ) การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหา
ความซ้ำซ้อนได้
ไว้หลาย ๆ แห่ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Reclundancy ) การนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหา
ความซ้ำซ้อนได้
4.
รักษาความถูกต้อง ฐานข้อมูลบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดขึ้น
เช่น การป้อนข้อมูลผิด ซึ่งระบบการจัดการฐานข้อมูล
สามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
สามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
5.
สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ เพราะในระบบฐานข้อมูลจะมีกลุ่มบุคคลที่คอยบริหารฐานข้อมูล
กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน
กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน
6.
สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดการเรียกใช้ข้อมูลของ
ผู้ใช้แต่ละคนให้แตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ง่าย
ผู้ใช้แต่ละคนให้แตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ง่าย
7.
ความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม โปรแกรมที่ใช้ในแต่ละแฟ้มข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลโดยตรง
ถ้าหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลก็ทำการแก้ไขโปรแกรมนั้น ๆ
ถ้าหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลก็ทำการแก้ไขโปรแกรมนั้น ๆ
http://www.thaigoodview.com
elational Database คือ
ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นการเก็บข้อมูลในรูปของตาราง (table)
ในแต่ละตารางแบ่งออกเป็นแถวๆ และในแต่ละแถวจะแบ่งเป็นคอลัมน์ (Column)
ซึ่งในการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลในตารางต่างๆ จะ
เชื่อมโยงโดยใช้การอ้างอิงจากข้อมูลในคอลัมน์ที่กำหนดไว้
Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่ใช้โมเดลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model) เนื่องด้วยแนวคิดของแบบจํ าลองแบบนี้มีลักษณะที่คนใช้กันทั่วกล่าวคือ มีการเก็บเป็นตาราง ทํ าให้ง่ายต่อการเข้าใจและการประยุกต์ใช้งาน ด้วยเหตุนี้ ระบบฐานข้อมูลแบบนี้จึงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในแง่ของ entity แบบจํ าลองแบบนี้คือ แฟ้มข้อมูลในรูปตาราง และ attribute ก็เปรียบเหมือนเขตข้อมูล ส่วนความสัมพันธ์คือความสัมพันธ์ระหว่าง entity
ข้อดีของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นฐานข้อมูลที่มีรูปแบบง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์ นักออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์ หรือผู้จัดการฐานข้อมูล ข้อดีที่ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่าฐานข้อมูลรูปแบบนี้เข้าใจง่าย มีดังนี้
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นกลุ่มของตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งในแต่ละตารางจะมีคอลัมน์ที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละตาราง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร รวมถึงวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลด้วย Access Approach
3. ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาพูดของเราและไม่ จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน จึงสะดวกในการใช้งานมาก
ปัจจุบันองค์กรต่างๆนำระบบฐานข้อมูลมาใช้มากขึ้น ในการนี้องค์กรจะต้องมีวิธีการ ออกแบบข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการจึงจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาฐานข้อมูล อย่างเต็มที่ การออกแบบฐานข้อมูลและการใช้ฐานข้อมูลทำให้เราได้รับประโยชน์หลายอย่างด้วย กัน
Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่ใช้โมเดลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model) เนื่องด้วยแนวคิดของแบบจํ าลองแบบนี้มีลักษณะที่คนใช้กันทั่วกล่าวคือ มีการเก็บเป็นตาราง ทํ าให้ง่ายต่อการเข้าใจและการประยุกต์ใช้งาน ด้วยเหตุนี้ ระบบฐานข้อมูลแบบนี้จึงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในแง่ของ entity แบบจํ าลองแบบนี้คือ แฟ้มข้อมูลในรูปตาราง และ attribute ก็เปรียบเหมือนเขตข้อมูล ส่วนความสัมพันธ์คือความสัมพันธ์ระหว่าง entity
ข้อดีของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นฐานข้อมูลที่มีรูปแบบง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์ นักออกแบบโปรแกรม โปรแกรมเมอร์ หรือผู้จัดการฐานข้อมูล ข้อดีที่ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่าฐานข้อมูลรูปแบบนี้เข้าใจง่าย มีดังนี้
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นกลุ่มของตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งในแต่ละตารางจะมีคอลัมน์ที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในแต่ละตาราง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไร รวมถึงวิธีการในการเข้าถึงข้อมูลด้วย Access Approach
3. ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาพูดของเราและไม่ จำเป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน จึงสะดวกในการใช้งานมาก
ปัจจุบันองค์กรต่างๆนำระบบฐานข้อมูลมาใช้มากขึ้น ในการนี้องค์กรจะต้องมีวิธีการ ออกแบบข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการจึงจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาฐานข้อมูล อย่างเต็มที่ การออกแบบฐานข้อมูลและการใช้ฐานข้อมูลทำให้เราได้รับประโยชน์หลายอย่างด้วย กัน
http://www.mindphp.com
1xbet korean online sportsbook with bonus code: 100BET
ตอบลบThis is one of 메리트카지노 our first deposit bonuses that you can get when you sign up. And one of the most popular and popular bonuses is 100%. 1xbet has over 350 1xbet korean betting 메리트 카지노 쿠폰
The Casino At Harrah's Resort Atlantic City - MapYRO
ตอบลบAddress; Phone Number; Address; Contact. 오산 출장마사지 Location; Phone number; 안양 출장마사지 Contact 평택 출장샵 Information. Directions for The 오산 출장샵 Casino At Harrah's 경상북도 출장샵 Resort Atlantic City.
William Hill Betting Locations | Mapyro
ตอบลบFind William Hill septcasino sports ford fusion titanium betting https://septcasino.com/review/merit-casino/ locations in Maryland, West Virginia, Indiana, Pennsylvania, 출장마사지 South Dakota, West Virginia and 출장샵 more. BetRivers.com.